top of page

The Institute of Bible Doctrine

C. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ เป็นรากฐานของเสรีภาพ
​​
1. เสรีภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการประกาศพระกิตติคุณแห่งพระเยซูคริสต์
   
2. เสรีภาพในการนับถือศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้เชื่อในพระคริสต์ ด้วยว่าส่งผลในการที่จะอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนหลักคำสอนพระคัมภีร์
 
3. เราไม่อาจมีเสรีภาพหากขาดความเป็นส่วนตัวและระบบสิทธิอำนาจ ซึ่งรับรองด้วยหลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ
 
4. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ ได้ประทานเสรีภาพและความเป็นส่วนตัวแก่พลเมืองที่ไม่ได้ละเมิดกฎหมายอาญา ผู้ที่กระทำผิดต่อกฎหมายได้แสดงว่าเขาไม่มีความรับผิดชอบ ไม่เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น และไม่เห็นคุณค่าของเสรีภาพ คนนั้นจึงสมควรเสียสิทธิที่จะอยู่อย่างเสรี จึงต้องถูกจำคุก หรือ (ในกรณีฆาตกรรมหรืออาชญากรรมขั้นรุนแรง) ต้องถูกประหารชีวิต
 
5. เสรีภาพภายในประเทศถูกพิทักษ์รักษาด้วยกฎหมาย ตำรวจ และศาลสถิตยุติธรรม เสรีภาพจะถูกพิทักษ์รักษาจากศัตรูภายนอกประเทศทางกองทัพทหารที่เตรียมพร้อม ตำรวจชายแดน และการตรวจคนเข้าเมือง เป็นต้น
 
6. ไม่ว่ารัฐบาลตั้งเป็นรูปแบบใดก็ตาม รัฐบาลมีความรับผิดชอบที่จะปกป้องสิทธิเสรีภาพและสิทธิอื่นๆของประชาชน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่มีสิทธิเข้าแทรกแทรงในชีวิตส่วนตัวของประชาชนโดยใช้อำนาจในทางที่ผิด
 
7. เศรษฐกิจต้องมีฐานบนวิสาหกิจเสรี การค้าเสรี และระบบทุนนิยม
 
          i. ต่อไปเป็นบทความจากหนังสือ พระธรรมยากอบ การวิเคราะห์และอธิบาย โดย แมคซ์ ไคลน์ (หน้าที่107) : “โปรดจงจำไว้ว่าความมั่งคั่งไม่ผิด แท้จริงแล้วคนมั่งมีเป็นกลุ่มคนหนึ่งที่สำคัญมากในสังคมเพราะเป็นคน (ทั้งผู้เชื่อและผู้ที่ไม่เชื่อ) ที่มีเงินทองที่สร้างงานให้คนอื่น งานนี้คือรายได้ที่ทำให้คนทำงานสามารถเลี้ยงครอบครัวและซื้อสิ่งที่อำนวยความสะดวกสบาย ประเทศชาติและประชาชนจึงเจริญขึ้นผ่านบริษัททั้งขนาดเล็กของครอบครัว จนถึงบริษัทมหาชนยักษ์ใหญ่ ความเจริญที่แท้จริงของเศรษฐกิจเริ่มต้นเมื่อประเทศสามารถพัฒนาบริษัทขนาดยักษ์ เพราะบริษัทขนาดนี้สามารถแข่งในตลาดโลก และจะต้องสนับสนุนและใช้บริการของบริษัทขนาดเล็กและกลางในท้องถิ่นด้วย พระเจ้าทรงสถาปนาเศรษฐกิจดำเนินการแบบนี้ ความมั่งคั่งไม่ใช่สิ่งที่ชั่ว คนที่มีจิตใจที่เปื่อยเน่าต่างหากที่เป็นสิ่งชั่ว  “การรักเงินนั้นเป็นรากเหง้าแห่งความชั่วในทุกรูปแบบ” (1 ทิโมธี 6:10 แปลตรงตามตัวอักษร) แต่เงินและความมั่งมีไม่ใช่สิ่งชั่ว
 
หลายครั้งนักการเมืองจะตั้งระบบสวัสดิการ หรือเก็บภาษีอัตราสูงจากบริษัทใหญ่ เพื่อที่จะเอาใจประชาชนส่วนใหญ่และเพื่อได้รับการยกย่องและได้คะแนนเสียงจากพวกเขา ยังมีนักการเมืองที่จงใจทำลายบริษัทใหญ่ผ่านการเก็บภาษีและข้อบังคับปลีกย่อย เพราะเขาอิจฉาคนรวยและนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ถึงจะมีแรงจูงใจอย่างไร แต่เงินภาษีที่เขาเก็บแล้วนั้นจะถูกเรียกว่า “เงินของรัฐบาล” เหมือนกับว่าเป็นเงินส่วนตัวของนักการเมือง เมื่อรัฐบาลก้าวก่ายในการงานเหล่านี้ เงินเก็บมักจะถูกใช้อย่างฟุ่มเฟือย หรือไม่เจ้าหน้าที่ก็โกงเงินกันไป พระเจ้าไม่ทรงสถาปนารัฐบาลไว้เพื่อทำสิ่ง เหล่านี้ แต่ให้รัฐบาลช่วยดูแลคนที่ต้องการอย่างแท้จริง เช่น เด็กกำพร้า แม่ม่ายและคนพิการที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ เป็นต้น เมื่อรัฐบาลได้ให้เสรีภาพแก่ประชาชนแล้ว และบริษัทได้รับโอกาสที่จะเจริญโดยไม่ต้องแบกภาระหนักจากภาษีสูงหรือกฎหมายที่มัดมือไม่ให้ทำธุรกิจอย่างเสรี ก็จะมีเงินพอที่ทุกคนจะอยู่ดีกินดีได้ ”
              
          ii. คนงาน (และสหภาพแรงงาน) ไม่มีสิทธิที่จะบงการนโยบายของเจ้านาย ด้วยว่าการที่เขาได้เลือกสมัครงานนั้น เป็นการบอกว่าเขาได้ยอมรับกับนโยบาย ค่าจ้าง เวลาทำงาน และเงื่อนไขอื่นๆ ที่เจ้านายตังให้ (พระเยซูสอนหลักการนี้ในทางอ้อมผ่านคำอุปมาเจ้านายกับคนงาน มัทธิว 20:1-15; เปรียบกับลูกา 3:14) หากคนงานไม่พอใจเขามีสิทธิที่จะลาออกตามเงื่อนไขที่ตกลงกันตอนเข้ามาทำงาน
           iii. เจ้านายที่ฉลาดจะดูแลลูกจ้างของตนอย่างดี ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างตอบสนองด้วยความจงรักภักดีและความตั้งใจที่จะทำให้เจ้านายพอใจ
           iv. การแยกอำนาจระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐเป็นสิ่งที่สำคัญมาก รัฐบาลไม่มีสิทธิใช้อำนาจในการบงการภาคเอกชน เช่น ในการบังคับการผลิต (ทั้งปริมาณและคุณภาพ เพราะผู้บริโภกควรใช้วิจารณญาณและรับผิดชอบในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ) การบริหาร การซื้อขาย เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน ภาคเอกชนไม่มีสิทธิที่จะใช้เงินหรืออำนาจเพื่อแสวงผลประโยชน์ส่วนตัว
8. ประเทศชาติต้องมีกฎหมายซึ่งงต่อต้านอาชญากรรม กฎหมายนั้นมีไว้เพื่อปกป้องเสรีภาพ สิทธิ
ส่วนตัว ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน กฎหมายต้องไม่ล้ำขอบเขตโดยพยายามแก้ปัญหาสังคมเพราะปัญหาสังคมเกิดจากปัญหาในชีวิตส่วนตัว ปัญหาในชีวิตสมรส และปัญหาครอบครัว ซึ่งแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้อง (โดยเฉพาะฝ่ายที่ได้รับมอบอำนาจ) ต้องรับผิดชอบที่จะแก้ปัญหาเอง (โฮเชยา 8:7ก; โคโลสี 3:25 ดู หนังสือ การทนทุกข์ของคริสตเตียน หน้า 23-29 และ The Doctrine of the Law of Volitional Responsibility)
 
9. การมีอิสรภาพโดยปราศจากสิทธิอำนาจกลายเป็นอนาธิปโตย และ สิทธิอำนาจที่ปราศจากอิสรภาพก็เป็นการกดขี่ (“Freedom without authority is anarchy; authority without freedom is tyranny”)
10. มนุษย์ไม่จำเป็นต้องมีเสรีภาพทางสังคมหรือร่างกายก่อน (physical freedom) ถึงจะมีเสรีภาพทางฝ่าย
วิญญาณ (spiritual freedom) ได้ (1 โครินธ์ 7:21-22; 12:13; 2 โครินธ์ 3:17; กาลาเทีย 5:1)
 
D. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ และการประกาศพระกิตติคุณ
 
1. หลักการและกฎหมายต่างๆฯ มีไว้เพื่อให้เสรีภาพแก่มนุษย์ในการประกาศพระกิตติคุณและการชุมนุมกันเพื่อที่จะเรียนหลักคำสอนพระคัมภีร์ นมัสการพระเจ้าผ่านพิธีมหาสนิท และการร้องเพลงถวายพระเจ้า ในช่วงเวลาที่มีแต่ “การใช้ความคิดเสรีภาพในการตัดสินใจของมนุษย์ส่วนใหญ่ปฏิเสธพระเจ้าและแผนการของพระองค์” หรือเรียกว่า  negative volition ต่อพระเจ้าและแผนการของพระองค์ หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ จะช่วยปกป้องประเทศชาติจากความชั่วร้ายและการหายนะ เช่น การมั่วในเรื่องเพศ อาชญากรรม และประเทศเพื่อนบ้านรุกรานประเทศ
2. ทุกคนต้องมีเสรีภาพในการที่จะยอมรับ หรือปฏิเสธพระคริสต์ โดยไม่ถูกกดดันจากใคร (โยชูวา
24:15) มนุษย์ทุกคนควรมีเสรีภาพในการฟัง และการเลือกเชื่อในพระกิตติคุณโดยไม่ต้องรู้สึกเกรงใจถูกขู่เข็ญ หรือถูกลงโทษหากเลือกที่จะปฏิเสธ ความสัมพันธ์ที่แต่ละบุคคลจะมี (หรือไม่มี) กับพระเจ้าเป็นเรื่องส่วนตัว และเป็นสิ่งทีทุกคนจะต้องรับผิดชอบและรับผลเอง
 
3. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ สำหรับยุคคริสตจักรได้แยกอำนาจระหว่างภาครัฐและคริสตจักร (separation of state [government] and Church) ภายในประเทศแกนนำของพระเจ้า
               i. รัฐบาลไม่ควรรับเอาศาสนาใดเป็นศาสนาทางการของรัฐ ในทำนองเดียวกัน องค์กรศาสนาควรได้รับการละเว้นภาษี และไม่ควรได้รับการสนับสนุนจากเงินกลางจากรัฐบาล
               ii. มีกรณียกเว้นเพียงสองครั้งในประวัติศาสตร์ คือในยุคสมัยของอิสราเอล และ ยุคพันปีของพระคริสต์ ซึ่งประเทศอิสราเอลอยู่ภายใต้พระเจ้าผู้ทรงเป็นประมุข (เฉลยธรรมบัญญัติ 26:18; 1 ซามูเอล 8:6-7;มาลาคี 3:8-10)
 
E. หลักการและกฎหมายต่างๆที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ และผู้เชื่อในพระคริสต์
 
1. ผู้เชื่อจะดำเนินชีวิตคริสเตียนภายใต้สองเกณฑ์ คือ หลักการและกฎหมายต่างๆที่พระเจ้าทรง
สถาปนาไว้ฯ ซึ่งเป็นการที่ผู้เชื่อได้รับผิดชอบต่อรัฐและสังคมในฐานะเป็นพลเมืองของชาติ และ หลักแห่งเกียรติยศภายในพระราชวงศ์ของพระเจ้า (the Royal Family Honor Code) ซึ่งเป็นการที่ผู้เชื่อได้รับผิดชอบต่อพระเจ้าผ่านชีวิตฝ่ายวิญญาณของตน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เชื่อและความรับผิดชอบที่เขามีต่อภาครัฐอยู่ที่ โรม 13:1-7 ผู้เชื่อที่กระทำตามพระบัญชาเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้เชื่อกำลังทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับประเทศของตน เช่น จ่ายภาษี(มัทธิว 22:21ข) ปฏิบัติตามกฎหมาย (ทิตัส 3:1; 1 เปโตร 2:13-14) และอธิษฐานเพื่อผู้นำของประเทศ (1 ทิโมธี 2:1-2)
3. ถึงแม้ว่ารัฐบาลที่ปกกครองประเทศอยู่อาจไม่ยุติธรรมและชั่วร้าย แต่ผู้เชื่อไม่มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ บ่น ประท้วง หรือมีส่วนในการปฏิวัติทางการเมืองแต่อย่างใด เพราะการเหล่านี้เป็นการแสดงว่าคุณไม่เห็นด้วยกับการทรงตัดสินพระทัยและพระประสงค์ของพระเจ้า
“ทุกคนจงยอมอยู่ใตบั้งคับของผู้ที่อำนาจ เพราะว่าไม่มีอำนาจใดเลยที่มิได้มาจากพระเจ้า และผู้ที่ทรงอำนาจนั้นพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้นเหตุฉะนั้นผู้ใดก็ตามที่ขัดดขืนอำนาจนั้นก็ขัดขืนผู้ซึ่งพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น และผู้ที่ขัดขืนนั้น จะนำพระอาชญามาสู่ตนเอง” (โรม 13:1-2)
“ปีลาตจึงทูลพระองค์ว่า "ท่านจะไม่พูดกับเราหรือ ท่านไม่รู้หรือว่าเรามีอำนาจที่จะตรึงท่านที่กางเขนและมีอำนาจที่จะปล่อยท่านได้" พระเยซูตรัสตอบว่า "ท่านจะมีอำนาจเหนือเราไม่ได้ นอกจากจะประทานจากเบื้องบนให้แก่ท่าน” (ยอห์น 19:10-11ก)
4. ยังมีอีกหลายอย่างซึ่งมนุษย์ชอบกระทำ “เพื่อมนุษยชาติ” แต่นั้นเป็นเพียงการกระทำดีของมนุษย์ (human good) ผู้เชื่อที่เข้าส่วนในการรณรงค์เพื่อสังคม บ้านเมือง หรือสิ่งแวดล้อม (เช่น ภาวะโลกร้อน) โดยคิดว่าจะทำให้สังคมดีขึ้น กำลังถูกหลอกด้วยโฆษณาชวนเชื่อของซาตานและหันเหไปจากแผนการของพระเจ้า การทำความดีของามนุษย์เป็นแนวคิดที่ซาตานสนับสนุนภายใต้ระบบโลกของมัน (the cosmic system)(1 โครินธ์ 3:19) การกระทำดีตามแบบของมนุษย์ที่เป็นตามนโยบายของซาตาน (ที่เรียกว่า human good) เช่นนี้ได้แต่เป็นการช่วยให้โลกของซาตานดูดีขึ้น (“whitewashing the devil’s world”) สิ่งเดียวที่สามารถช่วยมนุษย์ได้คือความจริงจากพระคำของพระเจ้า ซึ่งแบ่งเป็นสามประเภทดังนี้
               i. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ สำหรับสังคมที่สงบสุข
(สำหรับทั้งผู้เชื่อและผู้ที่ไม่เชื่อในพระเยซูคริสต์)
               ii. พระกิตติคุณแห่งพระเยซูคริสต์ (สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อ)
               iii. หลักคำสอนพระคัมภีร์ (สำหรับผู้เชื่อในพระเยซูคริสต์เท่านั้น )
 
5. โดยสรุปแล้ว ผู้เชื่อจะต้องเชื่อฟังกฎของผู้ปกครองทุกอย่าง ยกเว้นสิ่งใดที่จะขัดกับพระคำของพระเจ้า พระเจ้าจะไม่อนุญาตให้ผู้เชื่ออยู่ในเหตุการณ์ทีจะต้องกระทำผิดต่อพระบัญชาและแผนการของพระเจ้าโดยไม่มีทางออก (โยชูวา 2:1-5; ดาเนียล 1:8-16; 3:1-30; โครินธ์ 10:13) การประยุกต์หลักการนี้ รับรองว่าผู้เชื่อจะอยู่ในทางของพระเจ้าและหลีกเลี่ยงความทุกข์ในยามที่พระเจ้ากำลังพิพากษาลงโทษประเทศชาติ
F. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ และการตีสอนประเทศ
 
1. ประเทศที่ละเลยต่อหลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ จะต้องทนทุกข์กับความโศกเศร้าทีตนเป็นคนก่อ (self-induced misery) และการพิพากษาลงโทษจากพระเจ้า หากเป็นประเทศแกนนำของพระเจ้า (client nation) ก็จะถูกการตีสอนผ่าน 5 รอบ (the five cycles of discipline เลวีนิติ 26:14-38) (ดูหนังสือ การทนทุกข์ของคริสเตียน หน้าที่62-70, 163-4)
 
2. การที่รัฐบาลจะออกนโยบายที่ไร้สาระหรือชั่วร้ายเป็นบ่อยครั้ง เป็นการบ่งบอกว่าการทรงพิพากษาลงโทษประเทศจะใกล้เข้ามาแล้ว การทรงพิพากษาลงโทษประเทศ (national discipline หรือ national judgment) อาจมาในหลายรูปแบบ เช่น ภัยพิบัติธรรมชาติ โรคระบาด เศรษฐกิจตกต่ำ สงครามภายในหรือจากภายนอกประเทศ เป็นต้น
3. หากมีกลุ่มผู้เชื่อที่เติบโตฝ่ายวิญญาณแล้วมากพอ พระเจ้าจะทรงรักษาประเทศนั้นไว้ (2 พงศาวดาร 7:14; ยากอบ 5:16ข-18 มีตัวอย่าง อพยพ 32:9-14) หากกลุ่มคนที่เป็นผู้เชื่อที่เติบโตฝ่ายวิญญาณแล้วนั้นมีไม่มากพอ พระเจ้าจะทรงพิพากษาลงโทษประเทศนั้น แต่ผู้เชื่อที่เติบโชโตฝ่ายวิญญาณแล้วหรือผู้เชื่อที่กำลังเติบโตฝ่ายวิญญาณอยู่จะรอดจากหายนะ พระเจ้าสามารถอวยพรผู้เชื่อที่เติบโตหรือกำลังเติบโตฝ่ายวิญญาณในยามวิกฤติ ขณะที่คนอื่นจะต้องทุกข์ทรมาณหรือเสียชีวิต (อิสยาห์28:5-6)
 
4. ศาสนาของซาตานเป็นศัตรูที่ร้ายกาจทีสุดของประเทศ เพราะศาสนาของซาตานได้ผลิตความชั่วร้ายในนามของความดีของมนุษย์ (human good) เพื่อแข่งกับความดีอันสมบูรณ์แบบของพระเจ้า โดยเฉพาะเรื่องความรอดที่พระเจ้าทรงกระทำสำเร็จแล้วที่กางเขน
 
G. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ และสิทธิอำนาจ
 
1. ความไม่เข้าใจเรื่อองสิทธิอำนาจได้นำปัญหามากมายมาสู่ชีวิตส่วนตัวและสังคม สิทธิอำนาจนั้น คือสิทธิซึ่งพระเจ้าทรงมอบหมายให้แก่บางคน โดยให้มีอำนาจตัดสินและความรับผิดชอบเหนือกว่าผู้อื่น
 
2.ระบบสิทธิอำนาจเป็นสิ่งที่จeเป็นเพื่อให้สังคมจะสามารถดำเนินภายใต้หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ ถึงแม้เราอาจไม่เคารพนับถือผู้ที่มีสิทธิอำนาจเหนือเรา (เช่น เพราะความไม่ยุติธรรม ความโง่เขลา หรืออาจเป็นแค่เพียงบุคลิกลักษณะของเขาที่เราไม่ชอบ) แต่เราต้องเคารพนับถือตำแหน่งของเขา
3. มีระบบสิทธิอำนาจสำหรับทั้งผู้เชื่อและผู้ที่ไม่เชื่อในพระเยซูคริสต์ และสำหรับผู้เชื่อเท่านั้น
              
        i. ผู้เชื่อและผู้ที่ไม่เชื่อ : สามีมีสิทธิอำนาจเหนือภรรยา บิดามารดามีสิทธิอำนาจเหนือบุตร คุณครูมีสิทธิอำนาจเหนือนักเรียน (ภายในห้องเรียนเท่านัน ) โค้ชมีสิทธิอำนจเหนือนักกีฬา (ในเวลาฝึกซ้อมและลงสนาม) ผู้อำนวยการและผู้จัดการมีสิทธิอำนาจเหนือพนักงาน (ที่
ทำงาน) ยศตำแหน่งสูงมีสิทธิอำนจเหนือยศตำแหน่งต่ำ (ในการทหาร) และกฎหมาย ตำรวจ
และศาลมีสิทธิอำนาจเหนือประชาชน (ในเรื่องการรักษาความสงบสันติและความมั่นคงใน
สังคม)
        ii. เฉพาะผู้เชื่อเท่านั้น : ศิษยาภิบาล-ผู้สอนพระคัมภีร์มีสิทธิอำนาจเหนือสมาชิกในคริสตจักรท้องถิ่น (ในเวลาประชุมเท่านัน )
        iii. พระเจ้าทรงมีสิทธิอำนาจเหนือทั้งผู้ที่เชื่อและผู้ที่ไม่เชื่อในพระเยซูคริสต์
4. นอกจากหลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ พระเจ้ายังทรงแต่งตั้งกฎธรรมชาติ (the Laws of Nature) กระทำให้สิ่งทั้งปวงในธรรมชาติได้ดำรงภายใต้สิทธิอำนาจของพระเจ้า (มัทธิว 8:27) และยังมี กฎการปะทะสำหรับสงครามระหว่างพระเจ้าและซาตาน (Rules of Engagement for the Angelic Conflict) ซึ่งกระทำให้ซาตานและปีศาจของมันอยู่ภายใต้สิทธิอำนาจของพระเจ้า (เช่น มัทธิว 8:28-32; 2 เปโตร 2:4)
5. ในองค์กรทูตสวรรค์ต่างๆ ก็มีระบบสิทธิอำนาจ (ทั้งฝ่ายพระเจ้าและซาตาน) และมียศและตำแหน่งต่างๆ อย่างไรก็ตาม ทูตสวรรค์ไม่มีสิทธิอำนาจเหนือมนุษย์ (โคโลสี 2:18; วิวรณ์ 19:10)
6. การมีระบบสิทธิอำนาจก่อให้เกิดความมั่นคงในทุกสถาบัน องค์กร และทุกภาคของสังคม อาทิเช่น สิทธิอำนาจในภาคธุรกิจนำไปยังเศรษฐกิจที่แข็งแรง ฝ่ายบริหารและผู้ลงทุนมีสิทธิอำนาจในการตัดสินใจ ไม่ใช่กลุ่มแรงงาน หรือองค์กรของรัฐบาล (มัทธิว 20:1-15; เอเฟซัส 6:5)
 
H. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ และการทหาร
 
1. เสรีภาพผ่านชัยชนะทางด้านทหารมีฐานบนสิทธิอำนาจภายในกองทัพทหาร (เนหะมีห์ บทที่4)
 
2. การล้มเหลวในสนามรบได้บ่ง ชี้ว่ากองทัพนั้นได้ขาดการฝึกฝน วินัย อุปกรณ์ที่ดีและเหมาะสม และความเคารพนับถือแก่ผู้ที่สิทธิอำนาจ ทหารที่ดีได้รับแรงจูงใจที่จะสู้รบเพื่อประเทศชาติ (และเพื่อคนที่เขารัก) จากพระคำของพระเจ้า ทหารที่ดีที่สุดคือผู้เชื่อที่เติบโตฝ่ายวิญญาณ และได้รับการฝึกหัดทางด้านทหารอย่างสมบูรณ์แบบ (ทั้งอับราฮัม โมเสส และดาวิด เป็นตัวอย่างที่รับรองหลักการนี้)
 
3. การล้มเหลวของทหารในสนามรบทำให้ประชาชนต้องเสียเสรีภาพไป เพราะฉะนั้น เสรีภาพ
เกี่ยวเนื่องกับระบบสิทธิอำนาจ
 
4. องค์กรทหารเป็นเครื่องวัดคุณภาพและคุณลักษณะของประเทศ
 
6. การหลีกเลี่ยงงการเกณฑ์ทหาร หรือการหนีทัพเป็นบาป (กันดารวิถี 32:6, 7, 14, 20-23) ผู้ชายที่ขี้ขลาดควรรับการละเว้นจากการสู้รบ เพราะอาจกลายเป็นต้นเหตุทำให้แพ้ (เฉลยธรรมบัญญัติ 20:8)
 
7. การเกณฑ์ทหารเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาความเป็นเอกราชของประเทศ (กันดารวิถี 1:2-3, 31:3-5; เฉลยธรรมบัญญัติ 24:5; ผวูิ้นิจฉัย 3:1-2; 2 ซามูเอล 22:35; สดุดี 144:1)
8. ประเทศชาติจะมีสันติภาพและความสงบสุขผ่านกองทัพทหารที่เตรียมพร้อม ไม่ใช่ผ่านการเจรจาของนักการเมือง (โยชูวา 11:23; สดุดี 46:7-9) นักการเมืองมักจะเป็นคนที่ถูกแยกออกจากความเป็นจริง และชอบกล่าวว่า “ `สันติภาพ สันติภาพ' เมื่อไม่มีสันติภาพเลย” (เยเรมีย์ 6:13-14, 8:11) (ดูหนังสือ เสรีภาพผ่านชัยสมรภูมิ โดย ศจ. อาร์ บี. ธีม, จูเนียร์)
 
I. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ และศีลธรรม
 
1. ศีลธรรม (ซึ่งรับการชี้แจงผ่านหลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ) เป็นสิ่งที่ช่วยปกป้องสถาบันต่างๆ จากการโจมตีจากบาปและระบบโลกของซาตาน ด้วยวิธีนี้พระเจ้าจึงทรงบัญชาให้ทั้งผู้เชื่อและผู้ไม่เชื่อมีศีลธรรม (คืออยู่ในกำและหลักการต่างๆที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้เพื่อสังคมที่สงบสุข)
2. มีผู้ที่ไม่เชื่อในพระเยซูคริสต์หลายคนที่มีศีลธรรมสูง (อยู่ในกฎและหลักการที่พระเจ้าทรงตั้งไว้เพื่อสังคมที่สงบสุข)  และมีผู้เชื่อหลายคนที่ไม่มีศีลธรรมเลย
3. ศีลธรรมไม่ใช่ชีวิตคริสเตียน ศีลธรรม คือการที่มนุษย์ได้ปฏิบัติชีวิตภายใต้หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ แต่ชีวิตคริสเตียนคือการเรียนรู้หลักคำสอนพระคัมภีร์ และการประยุกต์หลักคำสอนพระคัมภีร์อย่างต่อเนื่องภายใต้ก้ ารประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ (อยู่ในสถานะฝ่ายวิญญาณ)  ซึ่งผู้ที่ไม่เชื่อในพระเยซูคริสต์ไม่สามารถทำได้
 
4. ไม่ใช่เพียงผู้เชื่ออเท่านั้นที่สามารถพัฒนาศีลธรรมและจริยธรรม จงจำไว้ว่า กิจกรรมใดๆที่ผู้ที่ไม่เชื่อในพระเยซูคริสต์สามารถกระทำได้ ไม่เกี่ยวกับชีวิตฝ่ายวิญญาณ เช่น ใครๆก็สามารถร้องเพลงพระเจ้าได้ แต่มีเพียงผู้เชื่อที่ได้รับประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และมีแรงจูงใจที่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งสามารถถวายเกียรติแด่พระเจ้าผ่านการร้องเพลงสรรเสริญนมัสการพระเจ้า หรือ ผู้ที่ไม่เชื่อที่ติดเหล้าสามารถเลิกเมาเหล้าได้ด้วยวิธีของโลก เช่น ปรัชญาหรือกฎศาสนา แต่การที่ผู้เชื่อสามารถเลิกเมาเหล้าได้เพราะการประยุกต์พระคำของพระเจ้าเป็นการถวายเกียรติแด่พระองค์
 
5. ชีวิตคริสเตียนไม่ใช่การมีศีลธรรม (ซึ่งทั้งผู้เชื่อและผู้ที่ไม่เชื่อในพระคริสต์ต้องอยู่ในศีลธรรมหรือต้องอยู่ในกฎและหลักการต่างๆที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้เพื่อสังคมที่สงบสุขอยู่แล้ว)   ชีวิตคริสเตียนคือการมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าผ่านพระเยซูคริสต์ (อย่างเป็นส่วนตัวของคริสเตียนแต่ละคนกับพระเจ้า 1 ยอห์น 1:1-5)อย่างไรก็ตาม พระเจ้าได้ทรงบัญชาให้ผู้เชื่อมีศีลธรรม (อยู่ในกฎสังคมสงบสุข)  และปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นพลเมืองของสังคมของตน เพราะฉะนั้น จะไม่มีผู้เชื่อที่เติบโตฝ่ายวิญญาณที่ไร้ศีลธรรม
 
6. การมีศีลธรรม (หรือการอยู่ในกฎสังคมสงบสุขฯ) ในสังคมได้ปกป้องเสรีภาพของแต่ละคนในสังคม แต่ไม่ได้นำไปสู่ความรอด (กาลาเทีย 2:16; ทิตัส 3:5; โรม 3:20)
 
J. ความรับผิดชอบของคริสเตียนต่อสถาบันต่างๆที่พระเจ้าทรงตั้งไว้
 
1. มัทธิว 22:21  “ ของของซีซาร์จงถวายแก่ซีซาร์ และของของพระเจ้าจงถวายแด่พระเจ้า" ในข้อนี้พระผู้เป็นเจ้าทรงจำแนกความรับผิดชอบของผู้เชื่อในฐานะพลเมือง และในฐานะเป็นผู้เชื่อ
 
2. ผู้เชื่อต้องดำเนินชีวิตภายใต้มาตรการสองแบบ คือ หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรง
สถาปนาไว้ฯหรือกฎศีลธรรม (เป็นการรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะพลเมือง) และหลักแห่งเกียรติยศภายในพระราชวงศ์ของพระเจ้า (เป็นการรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะเป็นผู้เชื่อในพระเยซูคริสต์)
 
3. ข้อพระคัมภีร์ : “ เหตุฉะนั้นก่อนสิ่อื่นใด ข้าพเจ้าขอเตือนสติท่านทั้งหลายให้วิงวอนอธิษฐานทูลขอ และขอบพระคุณเพื่อคนทั้งปวง เพื่อกษัตริย์ทั้งหลายและคนทั้งปวงที่มีตำแหน่งสูง เพื่อเราจะได้ดำเนินชีวิตอย่างเงียบๆและสงบสุข ในทางที่เป็นอย่างพระเจ้า [เล็งชีวิตฝ่ายวิญญาณ] และอย่างซื่อสัตย์ [อย่างมีคุณธรรม] ” (1 ทิโมธี 2:1-2)  “ ท่านทั้งหลายจงยอมฟังการบังคับบัญชาที่มนุษย์ตั้งไว้ทุกอย่าง เพราะเห็นแก่องค์พระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าผู้นั้นป็นกษัตริย์ผู้มีอำนาจยิ่งจะเป็นเจ้าเมืองผู้ที่ด้รับคำสั่งจากกษัตริย์นั้นให้ลงโทษผู้กระทำชั่ว และยกย่องคนที่ประพฤติดี ” (1 เปโตร 2:13-14)“ ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจ เพราะว่าไม่มีอำนาจใดเลยที่มิได้มาจากพระเจ้า และผู้ที่ทรงอำนาจนั้นพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้นเหตุฉะนั้น ผู้ใดก็ตามที่ขัดขืนอำนาจนั้นก็ขัดขืนผู้ซึ่งพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้นและผู้ที่ขัดขืนนั้นจะนำพระอาชญามาสู่ตนเอง เพราะว่าผู้ครอบครองนั้นไม่น่ากลัวเลยสำหรับคนที่กระทำดีถูกต้อง แต่ว่าเป็นที่น่ากลัวสำหรับคนที่กระทำความชั่ว ท่านไม่อยากจะกลัวผู้มีอำนาจหรือ ถ้าเช่นนั้นก็จงประพฤติแต่การดีถูกต้อง แล้วท่านจะได้รับการสรรเสริญจากผู้มีอำนาจนั้น ” (โรม 13:1-3)
 
bottom of page