top of page

The Institute of Bible Doctrine

หลักคำสอนเรื่อง

หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้สำหรับสังคมที่สงบสุข

THE DOCTRINE OF THE LAWS OF DIVINE ESTABLISHMENT

 

(บทที่ 1)

คำนำ

จากเวลากว่า 50 ปีที่ศาสนาจารย์ อาร์. บี. ธีม จูเนียร์ (อาจารย์บ็อบ) ได้สอนหลักคำสอนพระคัมภีร์ เรามีระบบหลักคำสอนพระคัมภีร์ซึ่งถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบ เทป ซีดี และ ดีวีดี และ หนังสือมากกว่า 50 เล่ม ซึ่งสอนเกี่ยวกับวิถีชีวิตคริสเตียน นอกจากนี้แล้ว หลักคำสอนพระคัมภีร์ถูกจัดตามแต่ละวิชามากกว่า 500 วิชาเพื่อ อำนวยความสะดวกแก่ ศิษยาภิบาล-ผู้สอนพระคัมภีร์ ในการเรียนการสอนหลักคำสอนพระคัมภีร์แก่คริสตจักรท้องถิ่น ที่เขาต้องรับผิดชอบ

 

สารบัญ

A. คำจำกัดความและการอธิบายสั้น ๆ

B. หลักการและกฎหมายต่างๆฯ ภายใต้ 4 สถาบันที่พระเจ้าทรงตั้งไว้

1. ความคิดเสรีในการตัดสินใจ (Volition)

2. สถาบันสมรส (Marriage)

3. สถาบันครอบครัว (Family)

4. ประเทศชาติ (Nation)

C. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ เป็นรากฐานของเสรีภาพ

D. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ และการประกาศพระกิตติคุณ

E. หลักการและกฎหมายต่างๆ ทีพระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ และผู้เชื่อในพระคริสต์

F. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ และการตีสอนประเทศ

G. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ และสิทธิอำนาจ

H. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ และการทหาร

I. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ และศีลธรรม

J. ความรับผิดชอบของคริสเตียนต่อสถาบันต่างๆ

 

A. คำจำกัดความและการอธิบายสั้น ๆ

1. พระเจ้าทรงสถาปนากฎบัญญัติหลายประการไว้ ซึ่งรับรองว่ามนุษยชาติจะไม่ทำลายตนเอง และมนุษย์จะมีเสรีภาพในการดำรงชีวิต อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่กลุ่มคน สังคม หรือ ประเทศชาติจะละเมิดต่อหลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ ก็เป็นการก่ออนาธิปไตยขึ้น (anarchy) คือจะมีสูญญากาศในบ้านเมือง และสังคมที่ไร้กฎและระบบระเบียบ

 

2. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้สำหรับสังคมที่สงบสุขได้รับรองว่าจะมี

สิ่งแวดล้อมซึ่งแต่ละบุคคลจะสามารถใช้ความคิดเสรีในการตัดสินใจ (volition) ในการเลือกที่จะกระทำตามหรือปฏิเสธแผนการของพระเจ้า และโดยไม่ถูกบีบบังคับหรือข่มเหงจากผู้ที่ไม่เห็นด้วย

 

3. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ มีไว้สำหรับทั้งผู้เชื่อ และผู้ที่ไม่เชื่อในพระเยซูคริสต์

 

4. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ มีทุกยุคสมัยในประวัติศาสตร์ของมนุษย์(ยกเว้นในสวนเอเดน) มีการเปลี่ยนแปลงกฎบางประเด็นสำหรับบางยุคสมัย เพื่อว่าจะเป็นการแก้คดีอุทธรณ์ของซาตาน (The Angelic Appeal Trial) เฉพาะจุด

 

5. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ มีอิทธิพลอย่างโดยตรงต่อเสรีภาพ อารยธรรม สิทธิอำนาจ การประกาศพระกิตติคุณแห่งพระเยซูคริสต์ การเติบโตฝ่ายวิญญาณของผู้เชื่อ และการเอาตัวรอดของมนุษยชาติ

 

6. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ ได้จำกัดความหมายของอิสรภาพ อิสรภาพนั่นคือการมีชีวิตที่ประกอบด้วยสามปัจจัยจำเป็นดังต่อไปนี้ ได้แก่

               i. การมีความเป็นส่วนตัว (privacy)

               ii. สิทธิในการครอบครองทรัพย์สมบัติ (the right to own property)

               iii. การมีระบบสิทธิอำนาจในการคุ้มครอง (a system of authority)

 

7. พระเจ้าทรงตั้งระบบสิทธิอำนาจในสังคมเพื่ปกป้องและรักษาอิสรภาพ ไม่มีระบบ องค์กร หรือ

สถาบันใดๆ ในสังคมที่สามารถนำอิสรภาพมาถึงคนที่อยู่ภายใต้ระบบนั้นได้โดยที่ปราศจากระบบสิทธิอำนาจ

8. เพราะฉะนั้น พระเจ้าทรงตั้งสถาบันของพระองค์ไว้ 4 สถาบัน (4 Divine Institutions) ซึ่งได้นำอิสรภาพมายังมนุษย์ผ่านหลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ ที่เกี่ยวข้องกับแต่ละสถาบัน

9. การมีอิสรภาพในสังคมกระทำให้ทุกคนได้รับโอกาสที่จะชนะ หรือล้มเหลว ซึ่งขึ้นอยู่กับความคิดเสรีในการตัดสินใจของตนเอง

 

10. พระเจ้ายังทรงตั้งกฎต่างๆ ไว้สำหรับทูตสวรรค์และธรรมชาติ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเป็นองค์ประกอบในการแก้คดีอุทธรณ์ของซาตาน

 

B. หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ ภายใต้ 4 สถาบันที่พระเจ้าทรงตั้งไว้

 

สถาบัน 4 สถาบันที่พระเจ้าทรงตั้งไว้ และ ผู้ที่พระเจ้าทรงมอบสิทธิอำนาจให้ในแต่ละสถาบันนั้น

(The 4 Divine Institutions and structure of authority as established by God)

 

               1. ส่วนบุคคล (individual) ซึ่งแต่ละบุคคลต้องอยู่ภายใต้สิทธิอำนาจและรับผิดชอบต่อ ความคิดเสรีในการตัดสินใจของตนเอง (volition)

               2. สถาบันสมรส (marriage) ซึ่งฝ่ายภรรยาต้องอยู่ภายใต้สิทธิอำนาจและรับผิดชอบต่อ สามี (husband)

               3. ครอบครัว (family) ซึ่งฝ่ายบุตรต้องอยู่ภายใต้สิทธิอำนาจและรับผิดชอบต่อ  บิดามารดา (parents)

               4. ประเทศชาติ (nation) ซึ่งประชาชนจะต้องอยู่ภายใต้สิทธิอำนาจและรับผิดชอบต่อ (กระทำตามกฎ) รัฐบาล (government)

B1. ความคิดเสรีในการตัดสินใจ (Volition)

                1.ความคิดเสรีในการตัดสินใจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจิตใจของมนุษย์ จำเป็นต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่รับรองเสรีภาพและความเป็นส่วนตัวถึงจะปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เสรีภาพและความเป็นส่วนตัวต้องอยู่คู่กันเสมอ

 

2. เนื่องจากความคิดเสรีในการตัดสินใจเป็นส่วนหนึ่งของจิตใจ ซึ่งตามองไม่เห็น เราจึงมีความเป็นส่วนตัวในการใช้ความคิด ในการตัดสินใจ และในความสัมพันธ์ระหว่างผู้เชื่อกับพระเจ้า

 

3. มนุษย์ทุกคนที่มีสมองปกติดีจะต้องใช้ความคิดเสรีในการตัดสินใจ ณ เวลาที่สำนึกว่ามีพระเจ้า (God consciousness) เป็นเวลาที่มนุษย์ต้องตัดสินใจที่จะแสวงหาพระเจ้าและน้ำพระทัยของพระองค์ (positive volition at God consciousness) หรือไม่ก็ปฏิเสธพระองค์ (negative volition at God consciousness)

 

 

สำหรับทุกๆ คนที่อยากจะรู้จักพระเจ้า ( positive volition)  พระเจ้าจะทรงประทานโอกาสที่จะฟัง (หรืออ่าน) พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เพื่อว่าเขาจะสามารถใช้ความคิดเสรีในการตัดสินใจที่จะเชื่อในพระคริสต์ในฐานะเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของตน (positive volition at Gospel hearing  (+V)) หรือไม่ก็ปฏิเสธพระองค์ (negative volition at Gospel hearing (-V)) เพราะเหตุนี้มีหลายคนในโลกที่เชื่อในพระเจ้าในฐานะเป็นพระผู้ทรงสร้าง แต่ยังปฏิเสธพระเยซูคริสต์ในฐานะเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของตน

 

4. ถึงแม้ว่ารัฐบาล สังคม หรือครอบครัวจะพยายามห้ามคนไม่ให้เชื่อในพระเยซูคริสต์ แต่การมีเสรีภาพและความเป็นส่วนตัวภายในจิตใจได้รับรองว่า คนที่มี positive volition (+V) จะสามารถรับความรอด และเติบโตฝ่ายวิญญาณได้ อนึ่ง ถึงแม้ว่าอาจมีบ้างประเทศที่ละเมิดต่อหลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ แต่นั่นไม่ได้เป็นอุปศรรคในการนำพระกิตติคุณหรือหลักคำสอนพระคัมภีร์แก่ผู้ที่สนใจ (ด้วยว่า ในการนำพระกิตติคุณ หรือหลักคำสอนพระคัมภีร์ถึงคนนั้น “ไม่มีอะไรที่ยากสำหรับพระเจ้า”! ขอดูเรื่องโยนาห์เป็นตัวอย่าง)

ปปปปปปป

5. มนุษย์ไม่ได้เกิดมาบนโลกนี้อย่างเท่าเทียมกัน

                i.ไอ.คิว. รูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ เพศ ฐานะ และสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่รับรองว่าทุกคนมีความแตกต่างกัน

               ii. มีสิ่งเดียวที่เหมือนกัน คือ ความคิดเสรีในการตัดสินใจ ซึ่งทุกคนจะใช้ในการเลือกที่จะประสบความสำเร็จ หรือ ที่จะล้มเหลว ทั้งทางฝ่ายโลก และฝ่ายวิญญาณ

               iii. ในสวรรค์ก็ไม่มีความเท่าเทียมกันเช่นกัน เช่น ทูตสวรรค์มีรูปร่าง ยศ และตำแหน่งที่ไม่เหมือนกัน (ดู The Doctrine of the Angelic Hierarchy) ผู้เชื่อที่กระทำตามแผนการของพระเจ้าจะได้รับรางวัลและสิทธิพิเศษซึ่งผู้เชืออื่นจะไม่ได้รับ (ดู The Doctrine of Crowns และ The Doctrine of the Judgment Seat of Christ)

 

6. ประเทศใดที่ยอมรับหลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ ได้ส่งเสริมหลักการ

“เสรีภาพในการที่จะประสบความสำเร็จ เสรีภาพในการที่จะล้มเหลว” (freedom to succeed, freedom to fail) ประเทศทีjสนับสนุนนโยบายแบบสังคมนิยม (หรือ คอมมิวนิสต์) กำลังลงโทษผู้ที่ประสบความสำเร็จและให้รางวัลแก่คนที่ล้มเหลว (เช่น โดยเก็บภาษีสูงจากนายทุนที่ทำรายได้ดี แล้วแจกจ่ายแก่คนรายได้น้อยผ่านระบบสวัสดิการต่างๆ) รัฐบาลที่ยุติธรรมจะส่งเสริมให้ทุกคนต้องรับผิดชอบชีวิตของตน (2 เธสะโลนิกา 3:8, 10) ยกเว้นผู้ที่ไม่อาจช่วยเหลือตนเองได้ เช่น เด็กกำพร้าและแม่ม่าย (เฉลยธรรมบัญญัติ 26:12) (ดู The Doctrine of Taxation)

 

7. ผู้เชื่อจะต้องปฏิบัติตามหลักการและกฎทั้งสองระบบที่พระเจ้าทรงตั้งไว้ ได้แก่ หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้สำหรับสังคมที่สงบสุข และ หลักแห่งเกียรติยศภายในพระราชวงศ์ของพระเจ้า (the Royal Family Honor Code) อันเป็นหลักการและกฎบัญญัติที่พระเจ้าทรงตั้งไว้เฉพาะผู้เชื่อในยุคคริสตจักร ผู้เชื่อที่สามารถดำเนินชีวิตตามทั้งสองอย่างนั้นมีคุณธรรมมาก มีความสามารถในการที่จะรับพระพรจากพระเจ้า ( capacity for blessings )ในทุกสถานการณ์ เป็นท่อพระพรต่อทั้งคนที่อยู่ใกล้ตัวและสังคม (blessing by association) มีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์ (impact on history) และจะถวายเกียรติแด่พระเจ้าอย่างสูง

 

B2. สถาบันสมรส (Marriage)

1. ความมั่นคงในมนุษยชาติ และในประเทศแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับความมั่นคงภายในสถาบันสมรสหลักการนี้จะเห็นได้ชัดในประเทศแกนนำของพระเจ้า ซึ่งทั้งพระคัมภีร์และประวัติศาสตร์ได้สอนว่า การทำลายสถาบันสมรส (ซึ่งเป็นการทำลายสถาบันครอบครัวด้วย) เป็นการทำลายสังคมและความเป็นเอกราชของประเทศ

2. สถาบันสมรสเป็นองค์กรแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ (องค์กร คือ การรวมสองคนขึ้นไป มีระบบสิทธิอำนาจ และมีจุดประสงค์) และเป็นองค์กรพื้นฐานของมนุษชาติ

3. สถาบันสมรสมีไว้สำหรับทั้งผู้เชื่อและผู้ที่ไม่เชื่อ แม้แต่ผู้ที่ไม่เชื่อสามารถมีความสุขชั่วคราวในโลกนี้ (temporal happiness) หากเขาได้เลือกคู่สมรสที่ถูกต้อง แล้วมีชีวิตสมรสตามหลักการที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้สำหรับสถาบันสมรส

 

“เจ้าจงอยู่กินด้วยความชื่นชมยินดีกับภรรยาซึ่งเจ้ารักตลอดปีเดือนแห่งชีวิตอนิจจังของเจ้าซึ่ง

พระองค์ได้ทรงประทานให้แก่เจ้าภายใต้ดวงอาทิตย์ ตลอดปีเดือนอนิจจังของเจ้า ด้วยว่านั่น

เป็นส่วนในชีวิตและในการงานของเจ้า ซึ่งเจ้าได้ออกแรงกระทำภายใต้ดวงอาทิตย์” (ปัญญา

จารย์ 9:9)

 

4. หลักการสมรสได้ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์นอกสถาบันสมรส เช่น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส การล่วงประเวณี การมีความใคร่ในเพศเดียวกัน เป็นต้น

 

5. ซาตานมักจะสนับสนุนกิจการและแนวโน้มของสังคมซึ่งโจมตีสถาบันสมรส ด้วยว่ามันมีเป้าหมายที่จะทำให้ประเทศแกนนำของพระเจ้าสูญเสียความมั่นคง และมันสามารถตั้งข้อกล่าวหาในคดีอุทธรณ์ ว่าสิ่งที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้เป็นสิ่งที่บกพร่อง (ดู บทเรียน เอเฟซัส 5:22-29 การวิเคราะห์โดย แมคซ์ไคลน์)

6.  สำหรับผู้เชื่อการล้มเหลวในชีวิตสมรสเป็นผลลัพธ์ และเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าพวกเขากำลัง

ล้มเหลวในชีวิตฝ่ายวิญญาณของตนถึงแม้ว่าสามีภรรยาอาจไม่สามารถมีชีวิตสมรสที่สมบูรณ์แบบ แต่สถาบันสมรสซึ่งพระเจ้าทรงตั้งไว้นั้นยังเป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบ

 

7. ในสถาบันสมรส ฝ่ายสามีได้รับสิทธิอำนาจทั้งสิ้น ภรรยาจึงได้รับคำสั่งให้เชื่อฟังสามี ส่วนสามีได้รับคำบัญชาที่จะรักภรรยาเหมือน “พระคริสต์ทรงรักคริสตจักร”

i. ภรรยาที่ตัดสินใจและยอมรับที่จะแต่งงานกับผู้ช ายจะต้องยอมรับที่จะอยู่ภายใต้สิทธิอำนาจของเขาตลอดจนวันตาย

ii. ผู้หญิงจึงไม่มีข้อแก้ตัวที่จะบ่น หรือว่ากล่าวสามี ฝ่ายภรรยาจะต้องเข้าใจว่าไม่มีผู้ชายที่จะดี

พร้อม คิดด้วยเหตุผล และสามารถเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของผู้หญิงเสมอ

iii. ภรรยาไม่สามารถมีความสุขในชีวิตสมรสได้จนกว่าเขาจะยอมรับว่าสามีเป็นหัวหน้าของตน

iv. ข้อพระคัมภีร์ที่สนับสนุน :

“ฝ่ายภรรยาจงยอมฟังสามีของตนเหมือนยอมฟังองค์พระผู้เป็นเจ้า… ฝ่ายสามีก็จงรัก

ภรรยาของตน เหมือนอย่างที่พระคริสต์ทรงรักคริสตจักร” (เอเฟซัน 5:22, 25ก)

“ฝ่ายภรรยาจงยอมฟังสามีของตน ซึ่งเป็นการสมควรในองค์พระผู้เป็นเจ้า ฝ่ายสามีก็จงรัก

ภรรยาของตนและอย่ามีใจขมขื่นต่อนาง” (โคโลสี 3:18-19)

มีแต่ผู้เชื่อที่เติบโตฝ่ายวิญญาณแล้วเท่านั้นที่จะสามารถกระทำตามคำบัญชาเหล่านี้ได้ หากสามีภรรยาสามารถกระทำได้ก็ถือว่าคู่นี้เป็นพยานหลักฐานที่ใช้การได้ฝ่ายพระเจ้า ในคดีอุทธรณ์ของซาตาน ซึ่งจัดเป็นพยานฝ่ายพระเจ้าในคดีอุทธรณ์ของซาตานประเภท “Corporate Testing” (พยานฝ่ายในพระเจ้า ในฐานะที่เป็นคู่สมรสผู้เชื่อที่เติบโตฝ่ายวิญญาณมาด้วยกันและภวายพระเกียรติแด่พระเจ้าอย่างมากด้วยกัน)

 

 

8. สถาบันสมรสได้ประทานสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดในการให้การดูแล การปกป้อง (ทั้งทางฝ่ายร่างกายและจิตใจ) และความอบอุ่นแก่บุตร

9. ในการสรุป การมีเพศสัมพันธ์นอกสถาบันสมรสนั้นเป็นการกบฏต่อพระเจ้าและแผนการของพระองค์ประเทศชาติไม่อาจรอดจากความเสื่อมทรามซึ่งมาจากการดูหมิ่นสถาบันสมรสซึ่งพระเจ้าทรงสถาปณาไว้สำหรับสังคมที่สงบสุข การที่ประเทศกำลังยกย่อง หรือ ละเมิดต่อหลักการเกี่ยวกับสถาบันสมรสเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าประเทศนั้นกำลังเจริญหรือหายนะ (ตัวอย่างเช่น โสโดมและโกโมราห์ / ประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันที่สนับสนุนเรื่องรักร่วมเพศอย่างเปิดเผยทั่วประเทศ โดยให้พวกนี้สามารถแต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงเป็นการต่อต้านพระเจ้าอย่างชัดเจน – กรกฎาคม 2015)

 

B3. สถาบันครอบครัว (Family)

1. พระเจ้าทรงสถาปนาหลักการและกฎต่างๆไว้สำหรับครอบครัว เช่น พระเจ้าทรงมอบสิทธิอำนาจภายในครอบครัวแก่บิดามารดา และให้บิดามารดารับผิดชอบที่จะปกป้อง เลี้ยงดู ฝึกฝน และตีสอนบุตรของตน เพื่อบุตรจะได้พัฒนาความสามารถในการดำเนินชีวิต (develop a capacity for life) หมายถึงรู้จักหน้าที่ รู้จักถูกผิด สามารถตัดสินใจเป็น แก้ปัญหาเป็น มีความรับผิดชอบ เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ฝ่ายบิดามารดาต้องสอนลูกให้รักชาติ และรับใช้ชาติเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เช่น เรื่องการจ่ายภาษี การเลือกตั้งและการเกณฑ์ทหาร

2. บิดามารดาต้องรับผิดชอบที่จะสั่งสอนบุตรให้เคารพนับถือและกระทำตามหลักการและกฎต่างๆที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้สำหรับสังคมที่สงบสุข บิดามารดาที่พลาดในหน้าที่นี้กลายเป็นเครื่องมือซึ่งนำหายนะมาถึงครอบครัว สังคม และประเทศชาติของตน

3. แนวคิดเสรีนิยม (liberalism / liberal thinking) จะทำลายสิทธิอำนาจของบิดามารดา เช่น ผ่านการรณรงค์หรือกฎหมายซึ่ห้ามไม่ให้ผู้ปกครองตีสอนลูก การให้ลูกเป็นกลาง (เช่น ที่โรงเรียนบางแห่งสนับสนุนนโยบาย child-centered learning) และกฎต่างๆ ที่มอบสิทธิอำนาจแก่คนวัยเยาว์

4. เด็กๆ ต้องเชื่อฟังบิดามารดาทุกประการ และเรียนรู้ที่จะเชื่อฟังต่อผู้ที่มีสิทธิอำนาจในสังคม หากพ่อแม่ไม่ได้สอนลูกให้เคารพและเชื่อฟังพ่อแม่ นั่นหมายความว่าเขากำลังสอนลูกให้กบฏต่อพวกเขา ในอนาคตลูกก็จะต้องกบฏต่อผู้ที่มีสิทธิอำนาจเหนือพวกเขาในสังคมด้วย เช่น คุณครู โค้ช เจ้านายกฎหมาย (รวมถึงการไม่เคารพตำรวจหรือระบบศาล) และพระเจ้าในที่สุด

 

5. การแสดงความรักต่อบุตรอย่างสูงสุดคือการฝึกฝนบุตรด้วยการสั่งสอนและการตีสอน พระคัมภีร์ได้บัญชาให้ผู้เชื่อรักพระเจ้า และบัญชาให้สามีรักภรรยา แต่ไม่มีคำบัญชาให้พ่อแม่ต้องรักลูก มีแต่คำบัญชาให้พ่อแม่สอนลูกในทางของพระเจ้า

“จงฝึกเด็กในทางที่เขาควรจะเดินไป และเมื่อเขาชราแล้ว เขาจะไม่พรากจากทางนั้น ” (สุภาษิต 22:6)

6. ส่วนฝ่ายบุตรก็ไม่ได้รับคำสั่งที่จะรักบิดามารดาของตน แต่ที่จะให้เกียรติและเชื่อฟังพวกเขา

“จงให้เกียรติแก่บิดามารดาของเจ้า เพื่ออายุของเจ้าจะได้ยืนนานบนแผ่นดิน ซึ่งพระเยโฮ

วาห์พระเจ้าของเจ้าประทานให้แก่เจ้า” (อพยพ 20:12) (เป็นคำบัญชาเฉพาะอิสราเอล แต่เป็น

หลักการซึ่งต้องนำมาใช้ในทุกยุคสมัย)

“ฝ่ายบุตรทั้งหลายจงเชื่อฟังบิดามารดาของตนทุกอย่าง เพราะการนี้เป็นที่ชอบพระทัยของ

องค์พระผู้เป็นเจ้า” (โคโลสี 3:20)

7. พ่อแม่คริสตียนยังได้รับคำบัญชาให้ประกาศข่าวประเสริฐและสอนหลักคำสอนพระคัมภีร์

ระดับพื้นฐานแก่ลูก และสอนให้ลูกได้เคารพนับถือพระคำของพระเจ้าและศิษยาภิบาล-ผู้สอนพระ

คัมภีร์ (เฉลยธรรมบัญญัติ 6:6-9, 7:9

 

B4. ประเทศชาติ (Nation)

 

1. พระเจ้าทรงสถาปณาการมีประเทศชาติ เพื่อที่จะปกป้องรักษาอิสรภาพและสิทธิเสรีของมนุษย์

หากทุกคนได้อยู่ภายใต้การปกครองระบบเดียว มนุษยชาติจะทำลายตนเอง ความพยายามของมนุษย์ครั้งแรกที่จะสร้างสหประชาชาติถูกพระเจ้าทรงพิพากษาลงโทษ (เรื่องหอเบเบล ปฐมกาล 11:1-9)  หลังจากเหตุการณ์นั้นพระเจ้าทรงแบ่งแยกกลุ่มคนตามภาษา เชื้อชาติ และภูมิศาสตร์ ซึ่งให้โอกาสแก่ทุกคนที่จะแสวงหาพระเจ้าได้ :

“พระองค์ได้ทรงสร้างมนุษย์ทุกชาติสืบสายโลหิตอันเดียวกันให้อยู่ทั่วพื้นพิภพโลก และได้ทรง

กำหนดเวลาและเขตแดนให้เขาอยู่ เพื่อเขาจะได้แสวงหาองค์พระผู้เป็นเจ้า และหากเขาจะคลำหาก็จะได้พบพระองค์ ด้วยพระองค์มิทรงอยู่ห่างไกลจากเราทุกคนเลย” (กิจการ 17:26-27)

2. การสร้างประเทศอิสราเอล (ในปี 1441 ก่อนคริสตกาล ตรงกับปีที่ชาวยิวอพยพจากอียิปต์) ได้

นำเสนอมาตรการของพระเจ้าในการสร้างประเทศชาติที่มั่นคง และมีกฎบัญญัติของโมเสส (the Mosaic Law) สามารถถูกแบ่งเป็นสามชุดดังนี้

               i. Codex One – The 10 Commandments (กฎบัญญัติชุดที่หนึ่ง พระบัญญัติ 10 ประการ) เป็นรัฐธรรมนูญสำหรับประเทศอิสราเอลอันมีพระเจ้าทรงเป็นประมุข และเป็นกฎบัญญัติซึ่งได้รับรองอิสรภาพของอิสราเอล ทั้งทางฝ่ายวิญญาณ และทางสังคม (สำหรับรายละเอียดของความหมายแต่ละข้อ และจุดประสงค์ของพระปัญญัติ 10 ประการนั้นดู The Doctrine of the Mosaic Law)

               ii. Codex Two - the spiritual code (กฎบัญญัติชุดที่สอง พระกิตติคุณและชีวิตฝ่ายวิญญาณ) พระบัญญัติ 10 ประการได้รับรองอิสรภาพของพลเมืองในการที่จะฟัง และที่จะตัดสิตใจเชื่อในพระกิตติคุณ ซึ่งถูกสื่อสารผ่านกฏและหลักการฝ่ายวิญญาณแห่งกฎบัญญัติของโมเสส (อพยพ 25:1-31:18) คำบัญญัติเหล่านี้ได้นำเสนอพระเยซูคริสต์ในฐานะเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ผ่านสื่อต่างๆ (เช่น หีบพันธสัญญา และพลับพลา) พิธีกรรม และการสั่งสอน (ดู หนังสือ Levitical Offerings และ The Doctrine of the Mosaic Law)

               iii. Codex Three – the establishment code (กฎบัญญัติชุดที่สาม หลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้สำหรับสังคมที่สงบสุข) ยังมีกฎบัญญัติของโมเสสอีกหลายข้อที่เกี่ยวกับหลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ อาทิเช่น ระบบการเมือง อัตราและวิธีการเก็บภาษี การเกณฑ์ทหาร สิทธิส่วนตัว สุขอนามัย และกฎเกี่ยวกับการสมรสและการหย่าร้างกัน เป็นต้น (ดู The Doctrine of the Mosaic Law)

 

3. ข้อพระคัมภีร์ที่สอนว่าพระเจ้าทรงประสงค์ให้มีประเทศชาติต่างๆ ในโลก : ปฐมกาล 10:5; เฉลยธรรมบัญญัติ 32:8; กิจการ 17:26 แม้ในยุคพันปีของพระคริสต์ ซึ่งจะมีสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบมนุษย์จะถูกแบ่งแยกไปตามประเทศต่างๆ (วิวรณ์ 2:26) แต่ละประเทศจะมีกษัตริย์และระบบการคุ้มครองของตน ด้วยว่าพระคริสต์จะทรงเป็นกษัตริย์ของโลก (วิวรณ์ 2:27; 19:16)

4. ประเทศชาติซึ่งกำลังดำเนินตามหลักการและกฎหมายต่างๆ ฯ จะมีลักษณะดังนี้

               i. พิทักษ์รักษาประชาชน และสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยกฎหมาย กองตำรวจ และระบบศาลที่ยุติธรรม ด้วยว่าถือมาตรการดังนี้ คือ

               - จำเลยถูกถือว่าเป็นผู้บริสุทธิจนกว่ามีหลักฐานที่พิสูจน์ว่าผิด (innocent until proved guilty)

               - ศาลยอมรับคำพยานที่ถูกต้องสมควรเท่านั้นไม่ยอมรับในการบอกเล่า

               - มีการห้ามฟ้องซ้ำในคดีอาญาในความผิดเดียวกัน (no double jeopardy)

                    ii. สิทธิของประชาชนควรเล็งถึงเรื่องสิทธิอำนาจและความรับผิดชอบ (หน้าที่) ของแต่ละคน ทุกคนมีความรับผิดชอบที่จะกระทำตามหลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ หากมีบุคคลใดละเมิดต่อกฏหมาย นั้นก็คือ อาชญากรรม ซึ่งผู้กระทำผิดจะต้องถูกพิพากษาลงโทษตามการตัดสินของศาล อาชญากรรมได้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้คน ผู้กระทำผิดจึงควรถูกลงโทษด้วยการเสียสิทธิเสรีภาพ

               iii. ประเทศที่มั่นคงจะมีภาษากลางซึ่งทุกคนใช้ได้คล่อง และมีวัฒนธรรมสามัญ (a common culture) ซึ่งได้สะท้อนศีลธรรม คุณธรรม ความเป็นหนึ่ง และการรักชาติ ลักษณะเหล่านี้ก็จะปรากฏให้เห็นผ่านวรรณคดี ศิลปะ ดนตรี และละคร / ภาพยนต์ ซึ่งได้สื่อแนวคิดและทัศนคติของคนของประเทศนั้น ๆ

               iv. ควรมีระบบรัฐบาลซึ่งสุจริต โดยผู้ที่มีอำนาจใช้สิทธิอำนาจในการปกครองในทางที่ถูกต้อง เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม ภายใต้รัฐบาลจะต้องมีระบบบริหารบ้านเมือง (เช่น ระบบราชการ กระทรวงและกรมต่างๆ อบจ. อบต. เป็นต้น) ซึ่งดูแลเรื่องการเก็บภาษี กองตำรวจ ระบบศาล กองทัพทหาร

               v. พระคัมภีร์ไม่สนับสนุนการให้การศึกษาฟรี การพยาบาลฟรี และอื่นๆ บริการเหล่านี้ไม่ใช่ความรับผิดชอบของรัฐบาล และบริการเหล่านี้มักจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเมื่อถูกบริหารโดยภาคเอกชน

 

5. ระบบรัฐบาลแบบไหนจะดีที่สุด? พระคัมภีร์ให้เห็นว่าอิสราเอลได้เจริญมากที่สุดภายใต้กษัตริย์ดาวิด (กิจการ 13:36) และจะมีอีกครั้ึหนึ่งในยุคพันปีของพระคริสต์ ซึ่งพระเยซู “ครอบครองประชาชาติทั้งปวงด้วยคทาเหล็ก” (โรม 15:12; วิวรณ์ 5:12) การครอบครองดังนี้คล้ายเผด็จการ ซึ่งงเป็นระบบที่ดีที่สุดหาก “ผู้เผด็จการ” นั้นมีคุณธรรมและสติปัญญาในการเป็นผู้นำประเทศ และในการมอบและรักษาอิสรภาพของประชาชนผ่านหลักการและกฎหมายต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสถาปนาไว้ฯ ส่วนระบบประชาธิปไตย ซึ่งคนมักจะมองผิดว่ามีความหมายตรงกับอิสรภาพ การที่ชนชาติอิสราเอลได้รวมเสียงกัน (ประชาธิปไตย) แล้วเรียกร้องกษัตริย์แทนพระเจ้ากระทำให้พวกเขาเสียความเป็นเสรี (1 ซามูเอล 8:5-22) กรุงเอเธนส์เคยต้องพินาศเพราะ “ประชาธิปไตยล้วน” และโลกปัจจุบันมีตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นว่าระบบประชาติปไตยไม่ได้เกิดผลดีหากประชาชนโดยรวมซึ่งเป็นผู้ที่ใช้สิทธิในการเลือกตั้งนั้นขาดคุณธรรมและความจริง แน่นอน สังคมที่เสื่อมจะต้องเลือกนักการเมืองและพรรคการเมืองที่จะตอบสนองต่อความต้องการของคนที่เสื่อมเหล่านั้น ซึ่งพระเจ้าเองทรงอนุญาติเพราะเห็นว่าสมควรในการตีสอนและการพิพากษาลงโทษประชาชน (โรม 13:1; ยอห์น 19:11)

 

bottom of page